เมนู

คือรู้จักประมาณในโภชนะฉะนั้น. ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกฺขุสตานิ.
ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ซึ่งมีประมาณห้าเหล่านั้น. ในคำที่พระเถระกล่าวว่า มหตา
ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ
นี้ เป็นอันท่านแสดงความที่ภิกษุสงฆ์ใหญ่นั้น เป็น
ผู้ใหญ่ด้วยจำนวน ด้วยคำว่า ปณฺจมตฺเตหิ ภิกขุสเตหิ นี้. ส่วนความที่
ภิกษุสงฆ์นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณ จักมีแจ้งข้างหน้าด้วยคำว่า ดูก่อนสารีบุตร !
ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเลี้ยงหนามหมดโทษปราศจากความด่างดำ หมดจดดี ตั้งอยู่
แล้วในธรรมอันเป็นสาระ, เพราะว่าบรรดาภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ ภิกษุผู้ที่มี
คุณล้าหลัง ก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ดังนี้.

[อธิบายคำว่า อสฺโสสิ โข เป็นต้น]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ
ดังต่อไปนี้ : -
บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ฟัง คือ ได้ฟัง ได้แก่ ได้ทราบตาม
ทำนองแห่งเสียงขอคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ
เพียงทำบทให้เต็ม หรือลงในอรรถแห่งอวธารณะ. บรรดาอรรถทั้งสองนั้น
ด้วยอรรถแห่งอวธารณะ พึงทราบใจความดังนี้ว่า ได้ฟังจริง ๆ อันตราย
แห่งการฟังอะไร ๆ มิได้มีแก่พราหมณ์นั้น. ด้วยอรรถว่าทำบทให้เต็ม พึง
ทราบว่า เป็นเพียงความสละสลวยแห่งบทและพยัญชนะเท่านั้น. พราหมณ์
ผู้เกิดในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. พราหมณ์มีในเมืองเวรัญชา ชื่อว่า
เวรัญชะ. อีกอย่างหนึ่ง เมืองเวรัญชาเป็นที่อยู่ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น
พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่า เวรัญชะ แต่ว่าพราหมณ์นี้ ชาวเมืองเรียกว่า อุทัย
ด้วยอำนาจชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้. ผู้ใดย่อมสาธยายพระเวท อธิบายว่า สาธยาย